อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ตราสัญลักษณ์


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
      องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหอยโข่ง ตั้งอยู่เลขที่ ๙o หมู่ที่ ๓ ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา โดยตำบลคลองหอยโข่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอคลองหอยโข่ง เป็นระยะทาง ประมาณ ๖ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๑๑๗.๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๗๓,๒๘o ไร่

องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหอยโข่ง มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
      ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลคลองหลา
      ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลทุ่งหมอ และตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา
      ทิศตะวันนอก มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลโคกม่วง
      ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

เขตการปกครอง
      องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหอยโข่ง ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่ 2 มีนาคม 2538 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑2 ตอนพิเศษ 6 ง ณ วันที่ 3 มีนาคม ๒๕๓๘
      แบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๔๕๗ เป็นหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหอยโข่ง จำนวน ๗ หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านจอมหรำ
หมู่ที่ 2 บ้านดานงา
หมู่ที่ 3 บ้านเหนือ
หมู่ที่ 4 บ้านยูงทอง
หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งเลียบ
หมู่ที่ 6 บ้านเก่าร้าง
หมู่ที่ 7 บ้านควนกบ

      จากคำบอกเล่าที่สืบทอดกันมาว่า ในอดีตประมาณ 500 กว่าปี คลองหอยโข่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่ห้อมล้อมไปด้วยป่าดงดิบ ชาวบ้านดำรงชีพอยู่ด้วยความยากลำบาก ต่อมาคลองหอยโข่งเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอหาดใหญ่ ประชากรดั้งเดิมอาศัยสืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งสันนิษฐานได้จากสถานที่สำคัญหลายแห่ง โดยเฉพาะศาสนสถานบ่งบอกถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์หรืออาจมีการตั้งถิ่นฐานก่อนหน้านี้ สังเกตได้จากสภาพสังคม ประเพณี วัฒนธรรม ที่บ่มเพาะให้ชาวคลองหอยโข่งเป็นคนที่มีอุดมการณ์ทางความคิดพัฒนาตลอดมา ดังนั้นด้วยความทุรกันดาร ห่างไกลชุมชมเมือง ประกอบกับประชาชนมีความคิดในเรื่อง การเมืองการปกครองและเรื่องความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่แตกต่างออกไป กระทรวงมหาดไทย จึงได้ประกาศเรื่องแบ่งเขตท้องที่จากอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอคลองหอยโข่ง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2535 และได้ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนที่ 50 ก ลงวันที่ 26 กันยายน 2540
วิสัยทัศน์
“ คมนาคมสะดวก เศรษฐกิจก้าวหน้า
การศึกษาก้าวไกล ใส่ใจอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
พันธกิจการพัฒนา
1. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
2. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
3. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
4. การมีส่วนรวมของประชาชนในการพัฒนา
5. คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตที่ดี
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน/ สังคมและความมั่นคงปลอดภัย
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านอาชีพ เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเข้มแข็ง
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมือง การบริหารจัดการที่ดี
แนวทางการพัฒนา
1. ก่อสร้าง ปรับปรุงและซ่อมแซมเส้นทางคมนาคม
2. พัฒนาระบบไฟฟ้าและโทรศัพท์ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
3. ก่อสร้าง/ ซ่อมบำรุง/ พัฒนาให้มีน้ำสะอาดบริโภคทุกพื้นที่/ และพัฒนาแหล่งน้ำต่าง ๆ
4. ส่งเสริมการสาธารณสุข และการบริการสุขภาพอย่างทั่วถึง
5. ให้การสงเคราะห์เด็ก สตรี คนชรา คนพิการ และประชาชนผู้ด้อยโอกาส
6. ส่งเสริมและพัฒนาด้านการศึกษา กีฬาทุกระดับ
7. จัดระบบการรักษาความสงบเรียบร้อยและป้องกันภัย
8. ส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งและพัฒนาชุมชนให้มีประสิทธิภาพ
9. ส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน
10. ส่งเสริมการคัดแยกขยะในครัวเรือนและการคัดแยกขยะจากชุมชน
11. ส่งเสริมอาชีพและสนับสนุนการรวมกลุ่มอาชีพ
12. ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวรวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานในแหล่งท่องเที่ยว
13. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น
14. ส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากรของท้องถิ่นทุกระดับ
15. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการที่ดี